วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ดวงจันทร์



ดวงจันทร์

การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม
ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก เป็นวัตถุทึบแสงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1/4 ของโลก อยู่ห่างโลกประมาณ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกเท่านั้น ดวงจันทร์จึงเป็นวัตถุธรรมชาติที่อยู่ใกล้โลกที่สุด เรามองเห็นดวงจันทร์ได้เพราะพื้นผิวดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์มาเข้าตาเรา แต่ส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่หันมาทางโลกไม่เท่ากันทุกวัน ทั้งนี้เพราะดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกรอบละประมาณ 1 เดือน ดังนั้นขนาดปรากฏของดวงจันทร์บนฟ้าจึงเปลี่ยนแปลง เช่นเห็นเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ วันต่อมาเห็นโตขึ้นและหลายวันต่อมาเป็นจันทร์เพ็ญ ช่วงนี้เราเรียกว่าดวงจันทร์ข้างขึ้น ซึ่งหมายความว่าดวงจันทร์สว่างขึ้น ภายหลังข้างขึ้นจะเป็นข้างแรม ขนาดปรากฏของดวงจันทร์สว่างลดลงจากรูปวงกลมเป็นรูปครึ่งวงกลมและเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ จนมองไม่เห็นเรียกว่าวันเดือนดับ เราเรียกปรากฏการณ์ การเกิดข้างขึ้นข้างแรมว่าเป็นดิถีของดวงจันทร์
ปฏิทินที่อาศัยดวงจันทร์เรียกว่าปฏิทินจันทรคติ ปฏิทินจันทรคติของไทย กำหนดให้ 1 ปีมี 12 เดือน ได้แก่เดือนเลขคี่และเดือนเลขคู่ เดือนคี่คือเดือนขาดมี 29 วัน โดยเริ่มต้นจากวันขึ้น 1 ค่ำถึง แรม 14 ค่ำ เดือนเหล่านี้คือเดือนอ้าย เดือน 3 เดือน 5 เดือน 7 เป็นต้น เดือนคู่คือเดือนเต็มมี 30 วัน ได้แก่เดือนยี่ เดือน 4 เดือน 6 ฯลฯ เดือนเหล่านี้จึงมีวันกลางเดือนเป็นวันขึ้น 15 ค่ำและวันสิ้นเดือนเป็นวันแรม 15 ค่ำ
การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม หมายถึง การมองเห็นดวงจันทร์มืดหรือสว่างอันเนื่องมาจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก โดยส่วนสว่างที่หันมาทางโลก เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์บนทางโคจรรอบโลก
การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออก โดยเคลื่อนไปทางเดียวกันกับการหมุนรอบตัวของโลก ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลก 1 รอบในเวลา 27.3 วัน นั่นคือในเวลา 27.3 วัน ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกได้เป็นมุม 360 องศา  นั่นคือในเวลา 1 วัน ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกได้เป็นมุม 360/27.3 หรือประมาณ 13 องศา
ดังนั้นเมื่อดูจากโลกจะเห็นดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันออกของจุดเดิมวันละประมาณ 13 องศา ซึ่งเทียบเท่ากับเวลาที่โลกหมุนประมาณ 52 นาที ดังนั้น ดวงจันทร์จะขึ้นช้าวันละประมาณ 52 นาที
พื้นผิวดวงจันทร์
ดวงจันทร์เป็นเพื่อนบ้านของโลกที่มนุษย์ใฝ่ฝันจะไปสัมผัสมานานแล้ว แต่ยังไม่สามารถเดินทางไปได้ เพราะไม่มีจรวดพลังสูงที่จะพานักบินอวกาศออกไปนอกโลกได้ จนกระทั่งภายหลังที่นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาจรวดจนส่งมนุษย์ออกไปนอกโลกได้แล้ว สหรัฐอเมริกาจึงส่งมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ภายใต้โครงการอะพอลโล และมนุษย์คนแรกได้ลงบนดวงจันทร์เมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 เราจึงถือว่าดวงจันทร์เป็นเพื่อนบ้านที่มนุษย์ได้สัมผัสแล้ว
ดาวเคราะห์ชั้นใน
ภาพเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์ใกล้โลก สัดส่วนเปรียบเทียบเป็นไปตามขนาดจริงดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์ใกล้โลก มี 4 ดวง โดยมากประกอบด้วยส่วนประกอบหิน มีความหนาแน่นสูง มีดวงจันทร์น้อยหรืออาจไม่มีเลย และไม่มีระบบวงแหวนรอบตัวเอง สสารที่เป็นองค์ประกอบมักเป็นแร่ธาตุที่มีจุดหลอมเหลวสูง เช่นซิลิเกตที่ชั้นเปลือกและผิว หรือโลหะ เหล็ก นิเกิล ที่เป็นแกนกลางของดาว สามในสี่ของดาวเคราะห์กลุ่มนี้ (ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร) มีชั้นบรรยากาศที่เห็นได้ชัด พื้นผิวมีร่องรอยของหลุมบ่อที่เกิดจากการปะทะโดยชิ้นส่วนจากอวกาศ และมีความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่พื้นผิวด้วยเช่น การแยกตัวของร่องหุบเขาและภูเขาไฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น